การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์




การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
 1.คำอธิบายรายวิชาการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Dhonburi Rajabhat Universty


รหัสวิชา :                            1024104
ชื่อวิชา (ภาษาไทย) :              การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
ชื่อวิชา (ภาษาอังกฤษ) :          Science Teaching Models  Development
หน่วยกิต :                           3(2-2-5)
คำอธิบายรายวิชา :                ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบต่างๆ รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับการสอนชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์เพื่อพัฒนาบุคคลการเลือกรูปแบบในการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนและชั้นเรียนการทดลองสอนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น 

Basic knowledge about teaching of science in a various patterns to improve the intelligence and cognitive process; teaching model for biology, chemistry and physic education for individual development; the selection of teaching pattern to suit with students and classes; the teaching trial by the developed model.

2. จุดประสงค์การเรียนรู้วิชาการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
จุดประสงค์การเรียนรู้ :
1. ผู้เรียนสามารถรู้และเข้าใจความหมายของการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ (Knowledge)
2. ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้และพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ให้เหมาะกับวิชาสอนได้ (Do)
3. ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้และพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ให้เหมาะกับผู้เรียนได้ (Do)

3. ตาราง 15 สัปดาห์ วิชาการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
ที่
กิจกรรม
ชิ้นงาน
1
ปฐมนิเทศ ชี้แจ้งวิชาเรียน เกณฑ์ การให้คะแนน
-
2
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบต่างๆ
-
3
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบต่างๆ
-
4
รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
-
5
รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
-
6
สอบกลางภาค
คะแนนสอบ
7
รูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับการสอนชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์
-
8
รูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับการสอนชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์
-
9
รูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับการสอนชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์
-
10
พัฒนาบุคคลการเลือกรูปแบบในการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียน
-
11
พัฒนาบุคคลการเลือกรูปแบบในการสอนให้เหมาะสมกับชั้นเรียน
-
12
การทดลองสอนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น
-
13
การทดลองสอนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น
-
14
นำเสนองาน
-
15
สอบปลายภาค
คะแนนสอบ

 4. ตารางการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียน
รูปแบบการสอน
จุดประสงค์การเรียนรู้
(แบบเก่า)
จุดประสงค์การเรียนรู้
(แบบใหม่)
หมายเหตุ
Engaugement
K, P, A
Knowledge and Do (K, D)

SU Model
K, P, A
Knowledge and Do (K, D)

LRU Model
K, P, A
Knowledge and Do (K, D)

DRU Model
K, P, A
Knowledge and Do (K, D)


5. การทดลองใช้การวิจัยในชั้นเรียน
1. Pre Test- สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน 
- ตั้งปัญหาที่จะศึกษา 
2. ตั้งสมมติฐาน 
3. เลือกใช้รูปแบบการพัฒนา (K, A, P)4. Port Test  
-สรุปผลการตั้งสมมติฐาน (ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือไม่)
6. การระดมสมองช่วงบ่าย (3/มีนาคม/2560)
ข้อสอบปลายภาคเรียน รายวิชา 1042404 การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
คำชี้แจง ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มระดมสมองในประเด็นต่อไปนี้
1.การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์คืออะไร มีความจำเป็นหรือไม่อย่างไรที่จะต้องพัฒนารูปแบบการสอนดังกล่าวนี้
ตอบ   การพัฒนารูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการเรียนของนักเรียนในกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2542 โดย ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนทุกด้านให้ได้ ระดับมาตรฐานตามความมุ่งหวังของประเทศชาติ
          มี ความจำเป็นที่จะต้องพัฒนารูปแบบการสอน เพราะรูปแบบการสอนจะต้องมีความทันสมัยเหมาะสมกับวัย และผู้เรียนสามารถเลือกวิธีที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ได้ โดยมีครูเป็นผู้ดูแล ช่วยเหลือ และควบคุม
2.จงวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีประเด็นใดบ้างที่สมควรนำมาเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องวิจัยเพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษา
ตอบ     เราสามารถแยกออกเป็น 2 ประเด็น
          1. สภาพการเรียนการสอน
1.1ด้านครูส่วนใหญ่ครูมีวุฒิการศึกษาตรงตามสาขาวิชาที่สอนมีประสบการณ์สอนเป็นเวลานานมีความรับผิดชอบสูง
1.2ด้านนักเรียนมีการจัดสอนเสริมและบริการแนะแนวให้แก่นักเรียนพร้อมทั้งมีทุนการศึกษาให้นักเรียน
1.3ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนส่วนใหญ่หัวหน้าหมวดวิทยาศาสตร์และครูร่วมกันกำหนดจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมมีการปฏิบัติการและลองสอนตามหลักสูตร
1.4ด้านสื่อการเรียนการสอน ส่วนใหญ่มีการส่งเสริมการผลิตสื่อและการจัดซื้อสื่อตามความต้องการของครู
1.5ด้านการวัดและประเมินผล
          2.ปัญหาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
2.1ด้านครูการขาดแคลนครูผู้ช่วยในการจัดเตรียมการเรียนการสอน
2.2ด้านนักเรียนนักเรียนมีจำนวนมากกว่าห้องเรียน
2.3ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนการจัดกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนอื่นทำให้มีการเดินทางลำบาก
2.4ด้านสื่อการเรียนการสอนครูไม่ค่อยใช้สื่อช่วยสอนแต่ครูส่วนใหญ่จะสอนแบบบรรยาย
2.5ด้านการวัดและการประเมินผลข้อสอบที่ครูออกส่วนใหญ่เน้นเรื่องความจำ

3.หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปัจจุบันมีความเป็นไปได้เพียงใดในการจัดการศึกษา 3.0 และเมื่อรัฐบาลประกาศจัดการศึกษา 4.0 จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ     การจัดการศึกษา 3.0
          เป็นไปได้ เพราะครู 3.0 มี ความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาการที่ตนสอนเป็นอย่างดี รู้ความสนใจ ความถนัด สติปัญญา และศักยภาพของผู้เรียนและสามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความสนใจของ ผู้เรียน มีความรอบรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ ทั้งแหล่งเรียนรู้บนสื่อพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อดิจิทัล และกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆแล้วนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันในชั้นเรียนการเรียนการสอน แบบ 3.0 จึงเน้นที่การเรียนมากกว่าการสอนครูจึงใช้เวลาในการบรรยายหรือถ่ายทอดน้อยลง
           การจัดการศึกษา 4.0
          เป็นไปได้ เพราะการจัดการศึกษา 4.0 จะใช้สมรรถนะที่ครูมีอยู่ในการทำให้นักเรียนกลายเป็นนักเรียน 4.0 ด้วยการเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะทำให้นักเรียนได้รับทักษะที่จำเป็นสำหรับ ศตวรรษที่21 คือทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรม การเรียนและการทำงานร่วมกันเป็นทีม การเรียนการสอน 4.0 จึงเน้นที่การสร้างชุมชนแห่งความสงสัย กระตือรือร้น อยากเรียนอยากรู้ และอยากได้คำตอบขึ้นใจชั้นเรียน

4.นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการเรียน รายวิชา 1042404 การ พัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้างมีความคาดหวังต่อการเรียนรู้รายวิชาดังกล่าวนี้เพื่อที่จะนำไปใช้ในอาชีพครูที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพครู(ตามที่คุรุสภากำหนด) โดยสรุป
ตอบ    มาตรฐานความรู้/มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
          มาตรฐานความรู้
                   1. การจัดการเรียนรู้
                   2. จิตวิทยาสำหรับครู
                   3. การวัดและประเมินผลการศึกษา
                   4. นวัตกรรมและเทคโนโลยี
                   5. ความเป็นครู
          มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
                  1. มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ระหว่างเรียน
                   มาตรฐานการปฏิบัติงาน
                     - มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน หมายถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นหลัก
     - มาตรฐานที่ 3 มุ่ง มั่นพัฒนาผู้เรียน ผู้เรียนได้เต็มศักยภาพ หมายถึงให้ผู้เรียน เรียนได้ตามความถนัดโดยวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน และปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้ได้ผลดี
    - มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์
   - มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ หมายถึงเลือกใช้และปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์
   - มาตรฐานที่ 6 จัด กิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน หมายถึงการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหา ความรู้ตามภาพความแตกต่างของบุคคลด้วยการปฏิบัติจริง
           - มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
 - มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ แนวทางที่นำสู่ผลก้าวพัฒนาของผู้เรียนได้ทุกสถานการณ์



7. มาตรฐานบัณฑิตตามมาตรฐานคุรุสภา



มาตรฐานครุสภา
การเรียนวิชาพัฒนารูปแบบการสอนวิทย์

1.ความเป็นครู

คุณลักษณะของครูที่ดี เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อเสริมสร้างความเป็นครูจากการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต้องคำนึงถึงวิธีการเรียนรู้ ความสนใจและความสามารถของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

2.ปรัชญาการศึกษา

-พฤติกรรมนิยม
          การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
-ปัญญานิยม
          การจัดการเรียนรู้ เหมาะสมกับสติปัญญาของผู้เรียน
-มนุษย์นิยม
          การคิดแบบอิสระ กล้าแสดงที่จะแสดงความคิดเห็น
-สรรค์สร้างนิยม
          การเรียนรู้เป็นทีม การนำข้อผิดพลาดของตัวเองมาเป็นบทเรียน ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้

3.ภาษาและวัฒนธรรม

ใช้ ภาษาที่เรียบง่าย ไม่เป็นทางการ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนไม่ซับซ้อน วัฒนธรรมจะเปิดรับอย่างอิสระโดยผ่านการไตร่ตรองให้เหมาะสมกับการจัดการเรียน การสอน

4.จิตวิทยาสำหรับครู

เป็นผู้ชี้แนะแนวทางให้กับผู้เรียนและพัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

5.หลักสูตร

พัฒนาหลักสูตรให้มีความหลากหลาย และประเมินหลักก่อนและหลังการใช้หลังสูตร

6.การวัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน

มีภาวะผู้นำในการบริหารจัดการชั้นเรียนร่วมถึงการสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ

7.การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

การวิจัยสามารถทราบถึงปัญหา และนำไปแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของผู้เรียน

8.นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และสามารถเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ

9.การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้

การวัดและการประเมินผลเป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคลตามความเป็นจริงเมื่อเกิดข้อผิดพลาด สามารถปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาต่อไปได้

10.การประกันคุณภาพการศึกษา

เป็นการประกันคุณภาพที่ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนได้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์

11คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ

รู้จักแยกแยะความถูกผิด มีเหตุผล รู้จักแบ่งปันความรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรว
                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น