DRU Model


รูปแบบการสอน DRU Model
DRU Model




การจัดการศึกษามี 3  รูปแบบดังนี้              

    1. การ ศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่ นอน                                                  

   2. การ ศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละบุคคล
 
  3. การ ศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส  โดยศึกษาจาบุคคล  ประสบการณ์  สังคม  สภาพแวดล้อม  สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ
              ด้านความรู้ (Knowledge)  กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
ด้านผู้เรียน (Learner)  กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่ง มีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียน รู้ด้วยตนเอง
       ด้านสังคม(Society) จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
     
         จากรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิต จะสอดคล้องกับแนวความคิดของไทเลอร์ 4 ขั้น จะได้สามเหลี่ยม  ภายในวงกลมสี่รูป  ได้แก่
1.สามเหลี่ยมแรก การวางแผน ( Planning) อาศัย แนวคิดพัฒนาหลักสูตรของ ไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร กำหนดจุดหมายหลักสูตร
 2. สามเหลี่ยมรูปที่สอง การออกแบบ (Design) นำ จุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการ ศึกษา การออกแบบหลักสูตรเพื่อให้มีจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนองจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
 3.สามเหลี่ยมรูปที่สาม การจัดระบบหลักสูตร (Organize) จัดหลักสูตรเพื่อตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สองคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือ จัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ  การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึงการบริหารที่สนับสนุน การจัดการเรียนรู้ และรวมถึงการนิเทศการศึกษา
 4.สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน (Evaluation) ประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
                                                  

 
           P = Planning                             (การวางแผน)                            
           C = Cognitive network               (ความรู้ความกระจ่างชัด)
           D = Design                               (การออกแบบและการพัฒนา)          
  A = Affective network               (การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมวิชาชีพ)
  M = Management                     (การจัดการ,การควบคุม)         
  L = Learning                            (การเรียนรู้)
           S = Strategic network                (กลวิธี)                       
           A = Assessment                       (การประเมินค่า)   
           E = Evaluation                         (การประเมินผล)

 
จากรูปด้านดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็นดังนี้
                                                          
สามเหลี่ยมรูปที่ 1

สามเหลี่ยม (D) การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ จะนำไปสู่ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
                       1. P = Planning  (การวางแผน)
                       2. D = Design  (การออกแบบและการพัฒนา)
                       3. C = Cognitive network  (ความรู้ความกระจ่างชัด)
                       4. A = Affective network (การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมวิชาชีพ)
                                                              

สามเหลี่ยมรูปที่  2
          สามเหลี่ยม (R) ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
                        1. C = Cognitive network (ความรู้ความกระจ่างชัด)
                        2. L = Learning (การเรียนรู้)
                        3. M = Management (การจัดการ,การควบคุม) 
                        4. S = Strategic network (กลวิธี)

                                                              
 
สามเหลี่ยมที่  3
          สามเหลี่ยม (U) การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
                 1. A = Assessment (การประเมินค่า)
                 2. S = Strategic network (กลวิธี)
                 3. A = Affective network (การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมวิชาชีพ)          
                 4. E = Evaluation (การประเมินผล)

จากขั้นตอนการจัดรูปแบบการเรียนรู้จะเห็นได้ว่าการจัดรูปแบบการเรียนรู้จะต้อง ดำเนินการตามขั้นตอนโดยมีการวางแผนการออกแบบมาเป็นอย่างดีเพื่อใช้เป็นแบบ แผนหรือแนวทางในการปฏิบัติการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้เฉพาะซึ่งจะนำมาใช้ในการพัฒนาเพื่อกำหนดลักษณะขององค์ประกอบการเรียนรู้นำวิธีการเชิงระบบมาจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการเรียนรู้และสามารถปรับใช้ให้เหมาะสม
บทบาทครู
1. P: Plan (วางแผน)
          - วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
          - กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
2. M: Management (การจัดการชั้นเรียน)
          - วางแผนการจัดการเรียนรู้
          - ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และเลือกกลวิธีการเรียนรู้ (SN)
3. E: Evaluation (ประเมิน)
          - วิเคราะห์คุณภาพกิจกรรม
          - กำหนดเกณฑ์การประเมิน (AN)

บทบาทผู้เรียน
1. D: Design (ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้)
          - กิจกรรม/ภาระงาน
          - วิเคราะห์คุณภาพกิจกรรม/ภาระงาน
          - ศึกษาหาความรู้ (CN)
2. L: Learning (การเรียนรู้)
          - กำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้
          - ทางเลือกในการเรียนรู้ (SN)
          - ปฏิบัติการเรียนรู้
3. AS: Assessment (การตรวจสอบทบทวนตนเอง)
          - ตรวจสอบการทำกิจกรรม
          - ประเมินตนเองจากการทำกิจกรรม
          - ทบทวนกลวิธีในการเรียนรู้
          - แสวงหาความรู้เพิ่ม (AN)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น