แผนการจัดการเรียนรู้
การเปรียบเทียบรูปแบบการสอน
การสอนในรูปแบบเดิมหรือโดยทั่วไปจะแบ่งขั้นตอนการสอนออกเป็น 3 ขั้นตอน
คือ 1. ขั้นนำ
2. ขั้นสอน
3. ขั้นสรุป
แต่ละรูปแบบการสอนแต่ละแบบ มีวิธีการสอนที่แตกต่างกันออกไป เราไม่สามารถกล่าวสรุปได้ว่าวิธีใดเป็นวิธีที่ดีที่สุดหากนำมาเปรียบเทียบกับการจัดการสอนแบบใหม่ DRU Model ที่เป็นรูปแบบที่พัฒนามากจากรูปแบบเดิม เพื่อนำมาใช้พัฒนาสติปัญญาและทักษะกระบวนการการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับรายวิชาและผู้เรียนมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น รูปแบบการสอนแบบ DRU Model
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
การสอนในรูปแบบเดิมหรือโดยทั่วไปจะแบ่งขั้นตอนการสอนออกเป็น 3 ขั้นตอน
คือ 1. ขั้นนำ
2. ขั้นสอน
3. ขั้นสรุป
แต่ละรูปแบบการสอนแต่ละแบบ มีวิธีการสอนที่แตกต่างกันออกไป เราไม่สามารถกล่าวสรุปได้ว่าวิธีใดเป็นวิธีที่ดีที่สุดหากนำมาเปรียบเทียบกับการจัดการสอนแบบใหม่ DRU Model ที่เป็นรูปแบบที่พัฒนามากจากรูปแบบเดิม เพื่อนำมาใช้พัฒนาสติปัญญาและทักษะกระบวนการการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับรายวิชาและผู้เรียนมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น รูปแบบการสอนแบบ DRU Model
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2
ชื่อหน่วย โลกและการเปลี่ยนแปลง เวลาเรียน 8 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การกร่อนและการผุพัง เวลาเรียน 1 ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวปิยะวดี คุ้มนาเรียง โรงเรียน.......................
วัน.................ที่..........เดือน..........พ.ศ........... เวลาที่สอน..................
หมายเหตุ
*********************************************************************
1.วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด (ว 6.1 ม.2/9) ทดลองเลียนแบบและอธิบายกระบวนการผุพังอยู่กับที่ การกร่อน การพัดพา การทับถม การตกผลึกและผลของกระบวนการดังกล่าว
จากมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ผู้เรียนต้องได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก สามารถทดลองและอธิบายการกร่อน การผุพัง และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้
2.ออกแบบการสอน
ผู้เรียนเลือกสื่อการสอน ได้แก่ พาวเวอร์พ้อย วีดีโอ หนังสือเรียน ใบความรู้ ที่ผู้เรียนคิดว่าเหมาะกับเรื่องที่เรียนและทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้มากที่สุด
3.สื่อการสอนที่ดีที่สุด
วีดีโอ ใบความรู้
4.วิธีการสอน
ผู้เรียนเลือกวิธีการสอน ได้แก่ สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สอนแบบการทดลอง สอนแบบบรรยาย สอนแบบสาธิต การสอนแบบ RBL
5.การสอนที่เหมาะสม
ผู้สอนทำกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีการสอนแบบ RBL โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
ขั้นที่ 1 การรู้จักตนเอง
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน โดยให้นักเรียนทุกคนภายในกลุ่มของตนเองช่วยกันแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ
- นอกจากการเกิดภูเขา แผ่นดินไหว และภูเขาไฟปะทุแล้ว ยังมีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกเปลี่ยนแปลง (การผุพังอยู่กับที่ การกร่อน การพัดพา การทับถม)
2. ให้นักเรียนนั่งสมาธิเป็นเวลา 2 นาที เพื่อทบทวนคำตอบที่ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ขั้นที่ 2 การเชื่อมโยงประสบการเดิมและใหม่
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ว่าวันนี้จะเรียนเรื่อง การกร่อน พร้อมทั้งแจกใบความรู้ที่ 1 เรื่อง การกร่อนและการผุพัง
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
. อธิบายความหมายการกร่อนและการผุพังได้
อธิบายการกร่อนลักษณะต่าง ๆ ได้
ระบุสาเหตุที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการกร่อนได้
ด้านทักษะ (P)
ทดลองการกร่อนโดยปฏิกิริยาเคมีได้
ด้านเจตคติ (A)
มีความสนใจใฝ่รู้อยากรู้อยากเห็น
2. กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนโดยถามคำถามดังนี้
- การเปลี่ยนแปลงของหินมีสาเหตุมาจากสิ่งใดบ้าง (แนวคำตอบ : การกร่อน การผุพัง)
- วันนี้เราจะเรียนเรื่อง การกร่อนและการผุพัง
ขั้นที่ 3 การสร้างองค์ความรู้
1. การตั้งประเด็น : หินเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
2. ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล : นักเรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากประเด็นที่ตั้งไว้จากใบความรู้ที่ 1 เรื่อง การกร่อนและการผุพัง
3. ลงมือปฏิบัติ : ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมารับ ใบกิจกรรมที่ 1 เรื่องการกร่อนและการผุพัง และอุปกรณ์การทดลอง ดังนี้
- ชอล์ก 2 แท่ง
- ขวดพลาสติก 2 ขวด
- น้ำส้มสายชู 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
- น้ำเปล่า 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการทดลองและสังเกต แล้วบันทึกลงในใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง การกร่อน โดยมีขั้นตอนการทดลอง ดังนี้
1. เติมน้ำส้มสายชูลงในขวดพลาสติก
2. นำชอล์กที่เตรียมไว้หย่อนลงไปในขวดพลาสติก จากนั้นสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง แล้วบันทึกผล
3. เติมน้ำเปล่าลงในขวดพลาสติก
4. นำชอล์กที่เตรียมไว้หย่อนลงไปในขวดพลาสติก จากนั้นสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง แล้วบันทึกผล
ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผล
1.การแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
2. การประเมินผล
- ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด เรื่อง การกร่อนและการผุพัง
- แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
- แบบประเมินการทำกิจกรรม 1 เรื่องการกร่อน
3. การขยายความรู้เพิ่มเติม : ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการกร่อน พร้อมยกตัวอย่างสิ่งที่นักเรียนสามารถเข้าใจได้ง่ายและพบเจอบ่อยในชีวิต ประจำวัน
ขั้นที่ 5 การนำไปใช้และการประยุกต์
- ครูถามนักเรียนว่า ถ้าสมมุติว่าเราปลูกต้นไม้ใกล้ ๆ กับก้อนหินขนาดใหญ่ ต่อมาต้นไม้มีการเจริญเติบโตมีรากต้นไม้ขนาดใหญ่ชอนไชไปตามดินและแทรกไปตาม ก้อนกิน นักเรียนคิดว่าเมื่อเวลาผ่านไปหินจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ : หินจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะรากต้นไม้ที่แทรกไปตามก้อนหินนั้น เมื่อเวลาผ่านจะทำให้ก้อนหินแตกออกจากกันและทำให้เกิดการผุพังของหิน)
6.แบบฝึกหัด/ใบงาน
ผู้เรียนทำแบบฝึกหัด เรื่อง การกร่อนและการผุพัง
ผู้เรียนทำใบกิจกรรมที่ 1 เรื่องการกร่อนและการผุพัง
7.ผู้เรียนประเมินตนเอง
ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ตนเองว่ามีความเข้าใจใน เรื่อง การกร่อนและการผุพังมากน้อยเพียงใดสามารถสรุปความรู้และทำงานตามที่สั่งได้ หรือไม่
8.ผู้สอนประเมินผู้เรียน
ผู้สอนประเมินผู้เรียนโดยการประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
9.การสืบค้นเพิ่มเติม
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาเพื่อให้เกิดความ เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น จากเพื่อนที่อยู่ภายในกลุ่ม จากเพื่อนจากกลุ่ม จากครูผู้สอน ห้องสมุด และจากแหล่งเทคโนโลยีสารสนเทศ
ชื่อหน่วย โลกและการเปลี่ยนแปลง เวลาเรียน 8 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การกร่อนและการผุพัง เวลาเรียน 1 ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวปิยะวดี คุ้มนาเรียง โรงเรียน.......................
วัน.................ที่..........เดือน..........พ.ศ........... เวลาที่สอน..................
หมายเหตุ
*********************************************************************
1.วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด (ว 6.1 ม.2/9) ทดลองเลียนแบบและอธิบายกระบวนการผุพังอยู่กับที่ การกร่อน การพัดพา การทับถม การตกผลึกและผลของกระบวนการดังกล่าว
จากมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ผู้เรียนต้องได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก สามารถทดลองและอธิบายการกร่อน การผุพัง และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้
2.ออกแบบการสอน
ผู้เรียนเลือกสื่อการสอน ได้แก่ พาวเวอร์พ้อย วีดีโอ หนังสือเรียน ใบความรู้ ที่ผู้เรียนคิดว่าเหมาะกับเรื่องที่เรียนและทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้มากที่สุด
3.สื่อการสอนที่ดีที่สุด
วีดีโอ ใบความรู้
4.วิธีการสอน
ผู้เรียนเลือกวิธีการสอน ได้แก่ สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สอนแบบการทดลอง สอนแบบบรรยาย สอนแบบสาธิต การสอนแบบ RBL
5.การสอนที่เหมาะสม
ผู้สอนทำกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีการสอนแบบ RBL โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
ขั้นที่ 1 การรู้จักตนเอง
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน โดยให้นักเรียนทุกคนภายในกลุ่มของตนเองช่วยกันแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ
- นอกจากการเกิดภูเขา แผ่นดินไหว และภูเขาไฟปะทุแล้ว ยังมีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกเปลี่ยนแปลง (การผุพังอยู่กับที่ การกร่อน การพัดพา การทับถม)
2. ให้นักเรียนนั่งสมาธิเป็นเวลา 2 นาที เพื่อทบทวนคำตอบที่ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ขั้นที่ 2 การเชื่อมโยงประสบการเดิมและใหม่
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ว่าวันนี้จะเรียนเรื่อง การกร่อน พร้อมทั้งแจกใบความรู้ที่ 1 เรื่อง การกร่อนและการผุพัง
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
. อธิบายความหมายการกร่อนและการผุพังได้
อธิบายการกร่อนลักษณะต่าง ๆ ได้
ระบุสาเหตุที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการกร่อนได้
ด้านทักษะ (P)
ทดลองการกร่อนโดยปฏิกิริยาเคมีได้
ด้านเจตคติ (A)
มีความสนใจใฝ่รู้อยากรู้อยากเห็น
2. กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนโดยถามคำถามดังนี้
- การเปลี่ยนแปลงของหินมีสาเหตุมาจากสิ่งใดบ้าง (แนวคำตอบ : การกร่อน การผุพัง)
- วันนี้เราจะเรียนเรื่อง การกร่อนและการผุพัง
ขั้นที่ 3 การสร้างองค์ความรู้
1. การตั้งประเด็น : หินเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
2. ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล : นักเรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากประเด็นที่ตั้งไว้จากใบความรู้ที่ 1 เรื่อง การกร่อนและการผุพัง
3. ลงมือปฏิบัติ : ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมารับ ใบกิจกรรมที่ 1 เรื่องการกร่อนและการผุพัง และอุปกรณ์การทดลอง ดังนี้
- ชอล์ก 2 แท่ง
- ขวดพลาสติก 2 ขวด
- น้ำส้มสายชู 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
- น้ำเปล่า 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการทดลองและสังเกต แล้วบันทึกลงในใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง การกร่อน โดยมีขั้นตอนการทดลอง ดังนี้
1. เติมน้ำส้มสายชูลงในขวดพลาสติก
2. นำชอล์กที่เตรียมไว้หย่อนลงไปในขวดพลาสติก จากนั้นสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง แล้วบันทึกผล
3. เติมน้ำเปล่าลงในขวดพลาสติก
4. นำชอล์กที่เตรียมไว้หย่อนลงไปในขวดพลาสติก จากนั้นสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง แล้วบันทึกผล
ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผล
1.การแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
2. การประเมินผล
- ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด เรื่อง การกร่อนและการผุพัง
- แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
- แบบประเมินการทำกิจกรรม 1 เรื่องการกร่อน
3. การขยายความรู้เพิ่มเติม : ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการกร่อน พร้อมยกตัวอย่างสิ่งที่นักเรียนสามารถเข้าใจได้ง่ายและพบเจอบ่อยในชีวิต ประจำวัน
ขั้นที่ 5 การนำไปใช้และการประยุกต์
- ครูถามนักเรียนว่า ถ้าสมมุติว่าเราปลูกต้นไม้ใกล้ ๆ กับก้อนหินขนาดใหญ่ ต่อมาต้นไม้มีการเจริญเติบโตมีรากต้นไม้ขนาดใหญ่ชอนไชไปตามดินและแทรกไปตาม ก้อนกิน นักเรียนคิดว่าเมื่อเวลาผ่านไปหินจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ : หินจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะรากต้นไม้ที่แทรกไปตามก้อนหินนั้น เมื่อเวลาผ่านจะทำให้ก้อนหินแตกออกจากกันและทำให้เกิดการผุพังของหิน)
6.แบบฝึกหัด/ใบงาน
ผู้เรียนทำแบบฝึกหัด เรื่อง การกร่อนและการผุพัง
ผู้เรียนทำใบกิจกรรมที่ 1 เรื่องการกร่อนและการผุพัง
7.ผู้เรียนประเมินตนเอง
ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ตนเองว่ามีความเข้าใจใน เรื่อง การกร่อนและการผุพังมากน้อยเพียงใดสามารถสรุปความรู้และทำงานตามที่สั่งได้ หรือไม่
8.ผู้สอนประเมินผู้เรียน
ผู้สอนประเมินผู้เรียนโดยการประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
9.การสืบค้นเพิ่มเติม
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาเพื่อให้เกิดความ เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น จากเพื่อนที่อยู่ภายในกลุ่ม จากเพื่อนจากกลุ่ม จากครูผู้สอน ห้องสมุด และจากแหล่งเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น